ทันตกรรมประดิษฐ์

เรามีประสบการณ์ให้บริการลูกค้ามากมาย พร้อมการันตีคุณภาพและมาตรฐานที่สูงแต่ราคาไม่แพง ด้วยรีวิวจากลูกค้ามากมาย

ทันตกรรมประดิษฐ์

ทันตกรรมประดิษฐ์ หรือการทำฟันปลอมเป็นทันตกรรมอีกประเภทหนึ่งที่ช่วยทดแทนฟันที่สูญเสียไป รวมทั้งแก้ไขปัญหาฟันที่เปราะบางหรือแตกหักฟันปลอมสามารถแบ่งออกได้หลายชนิด ได้แก่ การฝังรากเทียม / ครอบฟัน / สะพานฟัน / ฟันปลอมแบบถอดได้ หรือการใส่ฟันปลอม

ฟันปลอม ราคาเริ่มต้นเพียง 1,500 ต่อซี่ถัดไปซี่ละ 500 บาทเท่านั้น

ทันตกรรมประดิษฐ์ คือ?

ฟันปลอม คือ ฟันที่มาทดแทนฟันที่เสียไป ซึ่งสามารถใส่เข้าและถอดออกจากปากของเราได้ แม้ว่าฟันปลอมอาจจะต้องใช้เวลาในการทำความคุ้นเคย และไม่มีทางที่จะรู้สึกเหมือนฟันธรรมชาติ แต่ฟันปลอมในปัจจุบันก็แลดูเป็นธรรมชาติและมีความสะดวกสบายมากกว่าเมื่อก่อน ฟันปลอมจะทำโดยเฉพาะสำหรับแต่ละคนในห้องปฏิบัติการทันตกรรม จากการพิมพ์ปากของเรา ทันตแพทย์จะตัดสินว่าฟันปลอมชนิดใดเหมาะสมกับคุณ

รายละเอียด ของทันตกรรมประดิษฐ์

ฟันปลอมมี 2 ประเภท คือ แบบทั้งปาก และแบบบางส่วน ทันตแพทย์จะเป็นคนเลือกว่าจะต้องใช้ฟันปลอมประเภทใด ขึ้นอยู่กับว่าคุณเสียฟันบางซี่หรือหมดทุกซี่ รวมทั้งต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายด้วย

ฟันปลอมถอดได้แบบทั้งปาก (Full Denture)

จะใช้ในผู้ป่วยที่ไม่มีฟันธรรมชำติหลงเหลืออยู่เลยในช่องปาก ฟันปลอมชนิดใส่ทั้งปากนี้จะมีฐานที่ทำจากพลาสติกสีเหมือนเนื้อเยื่อเหงือกคอยรองรับชุดฟันปลอมที่อาจทำจากพลาสติกหรือเซรามิก เวลาใส่ฟันปลอมแบบใส่ทั้งปากแบบทั่วไปมักต้องใช้กาวติดฟันเข้ากับเหงือกของคนไข้

• ฟันปลอมทั้งปากแบบดั้งเดิม
ฟันปลอมทั้งปากแบบดั้งเดิมจะถูกใส่หลังจากฟันถูกถอนออกหมดและเนื้อเยื่อได้ฟื้นตัวแล้ว การฟื้นตัวของเนื้อเยื่ออาจใช้เวลาหลายเดือน ซึ่งในช่วงนั้นอาจจะไม่มีฟัน

• ฟันปลอมทั้งปากแบบทันที
ฟันปลอมทั้งปากแบบทันทีจะสามารถสวมใส่ได้ในทันทีหลังจากที่ฟันทั้งหมดถูกถอนออกที่เรียกว่า ฟันปลอมชั่วคราว (temporary denture) คือ ฟันปลอมที่ทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะอย่างและนำมาใช้งานในระยะเวลาสั้นๆ หรือระยะเวลาที่จำกัด หรือสำหรับสภาวะฉุกเฉินเท่านั้น แม้ว่าฟันปลอมทั้งปากแบบทันทีจะช่วยให้เราไม่ต้องอยู่แบบไม่มีฟัน แต่ฟันปลอมชนิดนี้จะต้องมีการปรับเปลี่ยนหลายเดือนหลังจากที่ใส่ไปแล้ว เนื่องจากกระดูกที่รองรับฟันมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาที่ฟื้นตัว ทำให้ฟันปลอมหลวมได้

ฟันปลอมถอดบางส่วน (Removable Partial denture)

ใช้กับคนไข้ที่ยังมีฟันกรามบนหรือล่างหลงเหลืออยู่ตั้งแต่ 1 ซี่ขึ้นไป ซึ่งนอกจากฟันปลอมชนิดนี้จะใส่เพื่อเติมเต็มช่องว่างฟันที่หายไปแล้วก็ยังช่วยป้องกันการเปลี่ยนตำแหน่งของฟัน โดยคนไข้สามารถใส่และถอดฟันปลอมออกมาเองได้ง่าย ๆ ด้วยการปลดตะขอโลหะที่ช่วยยึดฟันปลอมไว้กับฟันธรรมชาติที่เหลืออยู่ ทั้งนี้ตะขอที่ใช้ยึดยังมีชนิดที่ทำจากวัสดุสีเหมือนฟันและเหงือก ซึ่งจะช่วยให้กลมกลืนกับช่องปากยิ่งขึ้น แต่ก็มีข้อเสียตรงที่เปราะบางและแตกหักได้ง่ายกว่าตะขอโลหะ


1. ฟันปลอมวัสดุฐานอะคริลิค ราคาถูกที่สุดเมื่อเทียบกับฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งหมด พลาสติกสีชมพูของฐานฟันปลอมจะเป็นอะคริลิกที่มีความเปราะและเป็นวัสดุชนิดเดียวกับที่ใช้ทำฟันปลอมทั้งปาก

2. ฟันปลอมวัสดุฐานโครงโลหะโครงโลหะจะถูกออกแบบให้พอดีกับฟัน เมื่อใส่ลงไปบนฟันแล้วจะต้องมีความแนบที่ดี เพื่อความมั่นคงและการยึดอยู่

3.ฟันปลอมวัสดุฐานแบบยืดหยุ่น (Valplast)ฐานฟันปลอมทำจาก ไนล่อนหรือไวนิล คอมโพสิต มีความยึดหยุ่นในเรื่องของการรับแรงบดเคี้ยวได้ดี – สามารถใช้แทนโลหะและวัสดุอะคริลิกสีชมพู ในการสร้างโครงสำหรับฟันปลอมบางส่วนถอดได้มาตรฐาน

  1. ด้านความสวยงาม จะช่วยรักษารูปร่างลักษณะและความอูมของใบหน้าให้เหมือนเดิม เพราะขณะที่ไม่มีฟัน ใบหน้าของผู้ป่วยจะเปลี่ยนแปลงไปมาก รู้สึกอายไม่อยากพบปะผู้ใด
  2. ผู้ใส่จะไม่รู้สึกสูญเสียฟันธรรมชาติ และจะไม่เป็นที่สังเกตของบุคคลที่ใกล้ชิด เช่น คนในบ้าน เพื่อน ซึ่งเป็นผลดีด้านจิตใจอย่างยิ่ง
  3. ผู้ป่วยสามารถติดต่องานทำภารกิจ และเข้าสังคมได้ตามปกติ
  4. กล้ามเนื้อของใบหน้าจะทำหน้าที่ได้อย่างปกติ เพราะฟันปลอมที่ทำขึ้นสามารถลอกเลียนมิติแนวดิ่งของใบหน้าได้เท่าเดิมรวมทั้งป้องกันการเหี่ยวย่นและตอบเข้าของแก้มถ้ากล้ามเนื้อไม่มีฟันรองรับนานๆ บางครั้งอาจมีผลต่อไปยังข้อต่อขากรรไกร ซึ่งอาจมีหรือไม่มีอาการปวดร่วมด้วย
  5. ช่วยในเรื่องการพูด ผู้ใส่รู้สึกว่าเสียงพูดเหมือนเดิมไม่เพี้ยนเปลี่ยนไป เนื่องจากได้ใส่ฟันปลอมทันทีหลังจากการถอนฟัน
  6. ช่วยในการบดเคี้ยวทำให้ทานอาหารได้อร่อยและเคี้ยวอาหารได้เหมือนเดิม ถึงแม้ว่าจะต้องเคี้ยวอาหารด้วยความระมัดระวังในระยะแรกๆ
  1. คนไข้อาจรู้สึกเจ็บหรือรำคาญในช่วงแรกของการใส่ฟันปลอม
  2. อาจมีการเขินอายหรือเสียบุคลิกภาพในกรณีที่ต้องใส่ฟันปลอมแบบถอดได้ตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะต้องมีการถอดเพื่อล้างทำความสะอาดทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร
  3. มีการสูญหายได้ง่ายในกรณีที่ตัวคนไข้เป็นคนขี้ลืม เพราะบางทีมีการถอดมาล้างทำความสะอาจแล้วอาจลืมไว้ที่ไหนสักแห่ง ก็จะต้องมีค่าใช้จ่ายในการทำใหม่
  4. ฟันปลอมอาจจะต้องมีการปรับ ทำใหม่ หรือเปลี่ยนฐาน ขึ้นอยู่กับลักษณะการสวมใส่ การเปลี่ยนฐานคือการทำฐานฟันปลอมใหม่โดยที่ยังคงตัวฟันไว้อยู่ นอกจากนี้ เมื่อเราอายุมากขึ้น ปากของเราก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้อาจทำให้ฟันปลอมหลวม ทำให้การเคี้ยวอาหารลำบาก และระคายเคืองเหงือก
  5. การใส่ฟันปลอมอาจทำให้การออกเสียงบางคำทำได้ยากขึ้น
  6. ฟันปลอมอาจเลื่อนหลุดขณะหัวเราะ ไอ หรือยิ้มได้ในช่วงแรกของการใส่เพราะคนไข้อาจใส่ไม่แน่นเนื่องจากกลัวเจ็บ
  1. ทันตแพทย์จะทำการประเมินสุขภาพช่องปากในเบื้องต้นก่อน(ในกรณีที่มีฟันเหลืออยู่) บางรายอาจมีการถ่ายภาพรังสีประเมินร่วมด้วย และหากพบว่ามีโรคปริทันต์ หรือฟันผุ หรือมีการพิจารณาถอนฟันเพิ่ม อาจต้องทำการรักษาเหล่านั้นให้เสร็จก่อน
  2. ในกรณีที่ฟันถูกถอนหรือหลุดร่วงออกไป เบ้าฟันที่ว่างเปล่าจะถูกเติมเต็มด้วยกระดูกรองรับฟัน รวมถึงเนื้อเยื่อเหงือกบริเวณฟันซี่นั้นที่จะค่อย ๆ เปลี่ยนรูปร่างหรือยุบตัวลง ซึ่งกระบวนการนี้ใช้เวลาประมาณ 8-12 สัปดาห์ เมื่อเหงือกและกระดูกฟันอยู่ในสภาวะคงที่แล้วจึงตามมาด้วยขั้นตอนการทำฟันปลอมชนิดถาวร
  3. การพิมพ์ปากสำหรับทำฟันปลอมอาจมีการพิมพ์หลายๆครั้งขึ้นอยู่กับชนิดของฟันปลอมที่คนไข้เลือก และนำแบบที่พิมพ์นั้นส่งห้องปฏิบัติการทันตกรรมเพื่อทำชิ้นงาน
  4. เมื่อได้ชิ้นงานจากห้องปฏิบัติการมาแล้วทันตแพทย์จะนัดคนไข้ให้กลับมาใส่ชิ้นงานพร้อมกับมีการแก้ไขในกรณีที่ชิ้นงานทำมาไม่พอดี เมื่อแก้ไขเสร็จก็จะใส่ฟันปลอมชนิดนั้นๆให้คนไข้กลับไปใช้งาน
  5. ทันตแพทย์จะมีการนัดผู้ป่วยกลับมาตรวจหลังใส่ฟัน อาจเป็นวันรุ่งขึ้นถัดมา หรือ2-3วันหลังใส่ฟันไป เพื่อทำการตรวจในปากและถามผลการใช้งาน เพื่อแก้ไขให้ดีขื้น

ระหว่างการทำฟันปลอมนี้ คนไข้จะต้องไปพบทันตแพทย์เป็นระยะ ๆ ประมาณสัปดาห์ละ 1 ครั้ง อาจนานประมาณ 4-5 สัปดาห์ขึ้นกับชนิดของฟันปลอม จนกว่าการทำฟันปลอมจะเสร็จสมบูรณ์ และเมื่อใส่ฟันปลอมเรียบร้อยแล้วก็อาจต้องกลับไปพบทันตแพทย์อีกในช่วงเดือนแรก เพื่อปรับหรือตกแต่งฟันปลอมเพิ่มเติมให้พอดีกับช่องปากยิ่งขึ้น

  1. นอกจากฟันปลอมจะต้องสะอาดแล้วเนื้อเยื่อที่รองรับฟันปลอมจะต้องสะอาดด้วยควรกำจัดเศษอาหารที่เหลือตกค้างหรือพวกเศษเยื่อบุผิวบริเวณสันเหงือก ลิ้น โดยใช้แปรงขนอ่อนๆหรือผ้านุ่มๆ ทำความสะอาดร่วมด้วย
  2. ไม่แนะนำให้ผู้ป่วยที่ใส่ฟันปลอมให้ใช้วัสดุนิ่มๆไปเสริมใต้ฐานฟันปลอม ไม่แนะนำให้ซ่อมและเสริมฐานฟันปลอมหรือกรอแต่งแก้ไขฟันปลอมเองเพราะจะทำให้ฟันปลอมเสียได้
  3. ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเวลาในการใส่และถอดฟันปลอม โดยในช่วงหลายวันแรกหลังจากใส่ฟันปลอมอาจให้คนไข้ใส่ไว้ตลอดเวลารวมทั้งขณะนอนหลับ การใส่ฟันปลอมตลอดเวลาอาจทำให้รู้สึกไม่สบายปาก แต่ก็เป็นวิธีที่เร็วที่สุดในการดูว่ามีบริเวณใดที่ต้องปรับแต่งเพิ่มเติมหรือไม่ และเมื่อฟันปลอมถูกปรับแต่งเพิ่มเติมดีแล้วจึงควรถอดฟันปลอมออกก่อนนอน เพื่อช่วยให้เหงือกได้พัก อีกทั้งยังเป็นการป้องกันการเกิดเชื้อราในช่องปากด้วย
  4. ถอดฟันปลอมออกล้างหลังจากรับประทานอาหาร ใช้น้ำชะล้างฟันปลอมเพื่อขจัดคราบอาหารที่ติดอยู่ออก และระหว่างนี้ควรระวังไม่ให้ฟันปลอมหลุดมือหรือตกจนแตกเสียหายได้
  5. จับฟันปลอมอย่างระมัดระวังและเบามือ ป้องกันไม่ให้พลาสติกหรือตะขอของฟันปลอมโค้งงอหรือเสียหายขณะถอดออกมาล้างทำความสะอาด
  6. แปรงทำความสะอาดฟันปลอมอย่างน้อยวันละครั้ง ทำความสะอาดฟันปลอมอย่างอ่อนโยนด้วยการจุ่มหรือแปรงด้วยน้ำยาหรือเม็ดฟู่สำหรับทำความสะอาดฟันปลอมที่ไม่มีฤทธิ์กัดกร่อน เพื่อช่วยขจัดเศษและคราบอาหาร รวมถึงกาวติดฟันปลอมที่อาจเหลือติดค้างอยู่ตามร่องฟัน
  7. แช่ฟันปลอมค้างคืน ฟันปลอมหลาย ๆ ชนิดจำเป็นต้องเก็บในที่ที่มีความชื้นเพื่อคงรูปร่างของฟันปลอมไว้ จึงควรแช่ฟันปลอมไว้ในน้ำเปล่าหรือน้ำยาแช่ฟันปลอมชนิดอ่อน ๆ ข้ามคืน อย่างไรก็ตามผู้ที่ใส่ฟันปลอมควรพูดคุยสอบถามทันตแพทย์ถึงวิธีการเก็บรักษาหรือแช่ฟันปลอมที่เหมาะสม และทำความสะอาดและแช่ฟันตามคำแนะนำของผู้ผลิตหรือแพทย์ที่ติดฟันปลอมให้จะดีที่สุด
  8. หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์กัดกร่อน และยาสีฟันที่ช่วยให้ฟันขาวหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารฟอกสีฟัน เพราะอาจทำให้ฟันปลอมเสียหายและมีสีหมองคล้ำลง รวมถึงการใช้น้ำร้อนที่จะส่งผลให้ฟันปลอมเกิดการบิดงอได้
  9. ล้างฟันปลอมก่อนใส่กลับเข้าไปในปาก โดยเฉพาะหากฟันปลอมนั้นถูกแช่ในสารละลายสำหรับแช่ฟันปลอม เนื่องจากสารละลายที่ใช้แช่นี้อาจมีส่วนผสมของสารเคมีอันตรายและอาจมีผลข้างเคียงให้อยากอาเจียน มีอาการเจ็บหรือแสบร้อนเมื่อกลืนลงไปได้
  10. ควรระวังในการรับประทานอาหารร้อนและอาหารแข็ง หลีกเลี่ยงอาหารที่เหนียวหรือแข็งเกินไป รวมถึงการเคี้ยวหมากฝรั่งและการใช้ไม้จิ้มฟันขณะใส่ฟันปลอม
  11. พบทันตแพทย์หากรู้สึกว่าฟันปลอมไม่พอดีหรือเริ่มหลวม เนื่องจากฟันปลอมที่หลวมนั้นอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการเจ็บปวด ระคายเคือง และเสี่ยงต่อการติดเชื้อตามมา

สะพานฟัน

เมื่อมีการสูญเสียฟันเกิดขึ้น ปัญหาที่มักเกิดตามมา คือ เกิดช่องว่างระหว่างซี่ฟันทำให้เคี้ยวไม่สะดวก, ฟันคู่สบห้อยย้อยลงมา, ฟันข้างเคียงล้มทำให้เกิดช่องว่างระหว่างซี่จนเศษอาหารติด เป็นต้น การทดแทนฟันที่หายไปจึงมีความจำเป็นเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างดังกล่าว การใส่ฟันด้วยสะพานฟัน เป็นอีกวิธีหนึ่งในการใส่ฟันทดแทนแบบติดแน่นที่มีประสิทธิภาพและทำกันมานาน สะพานฟันคือครอบฟันติดกัน 3-4 ซี่ โดยซี่แรกและซี่สุดท้ายจะเป็นครอบฟันที่นำไปยึดกับฟันธรรมชาติที่อยู่หน้าและหลังของช่องว่างที่โดยถอนฟันไป โดยมีฟันปลอมแขวนตรงกลาง 1-2 ซี่เพื่อแทนที่ฟันที่หายไป

สะพานฟัน (Fixed Bridges) เป็นสะพานฟันประเภทที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในทางทันตกรรมและทำจากเซรามิกหรือพอร์เซเลนหลอมกับเหล็ก ครอบฟันทำขึ้นสำหรับฟันทั้งสองข้างของฟันที่ หายไป (ฟันหลัก) โดยมีช่องว่างระหว่างฟันทั้งสองซี่ ประเภทของวัสดุที่ใช้ในการทำสะพานฟัน
1. สะพานฟันที่ประกอบด้วยครอบฟันแบบเซรามิกและโลหะ Porcelain-fused to Metal (PFM) Bridge ข้อดี มีความแข็งแรงและทนทานมากกว่าการครอบฟันแบบเซรามิกล้วนและสีใกล้เคียงสีฟันจริง ข้อเสีย การครอบฟันประเภทนี้อาจต้องมีการกรอฟันปริมาณมากกว่าแบบอื่น

2. สะพานฟันที่ประกอบด้วยครอบฟันแบบเซรามิกล้วน All Porcelain Bridge ข้อดี สีฟันใกล้เคียงสีฟันจริงมากที่สุด จึงเหมาะกับการรักษาฟันบริเวณฟันหน้า ข้อเสีย การครอบฟันประเภทนี้อาจต้องมีการกรอฟันปริมาณมากกว่าแบบอื่น

3. สะพานฟันที่ประกอบด้วยครอบฟันแบบโลหะล้วน (ทอง) All Gold Bridge ข้อดี แข็งแรงและทนทาน กรอแต่งผิวฟันน้อย / ข้อเสีย สีไม่สวยงาม

  1. ทดแทนฟันซี่ที่สูญเสียไป
  2. ป้องกันปัญหาการล้มของฟันซี่ข้างเคียง
  3. การออกแบบดูเป็นธรรมชาติคล้ายคลึงกับฟันตามธรรมชาติ
  4. กำจัดปัญหาความรำคาญเรื่องการถอดใส่ เป็นฟันปลอมแบบติดแน่น
  5. ไม่ต้องมีการผ่าตัด
  6. ใช้เวลาน้อย เพียง 1-2 อาทิตย์ก็สามารถมีฟันใช้เคี้ยวได้ตามปกติ
  7. เพิ่มความมั่นใจในรอยยิ้ม และปรับบุคลิกภาพได้ดียิ่งขึ้น เพราะไม่ต้องมีการถอดเข้าออกมาทำความสะอาด
  1. มีความเป็นไปได้ที่จะมีการผุของฟันใต้สะพานฟัน
  2. กาวหรือซีเมนต์ที่ใช้ในการยึดอาจหมดสภาพตามกาลเวลา
  3. จำเป็นที่จะต้องได้รับการตรวจสภาพอย่างเป็นประจำ
  4. ทำให้สูญเสียเนื้อฟันธรรมชาติของฟันซี่ข้างๆไปเพื่อใช้เป็นฐานรองรับสะพานฟัน
  1. ขั้นตอนในการรักษามีหลายกระบวนการและหลายขั้นตอน อาจต้องใช้ระยะเวลาในการรักษา 1-2 vอาทิตย์ เนื่องจากมีการนำแบบพิมพ์ฟันจำลองไปยัง Lab สำหรับทำสะพานฟัน เพื่อให้มีขนาดเหมาะสมและพอดีในการรักษา
  2. ทันตแพทย์ตรวจฟันและฉีดยาชาบริเวณฟันที่จะกรอก่อนทำสะพานฟัน
  3. กรอฟันเพื่อเป็นฐานให้แก่สะพานฟัน หากฟันที่เป็นฐานมีการอุดฟันไว้ ส่วนที่ถูกอุดฟันจะดึงออก เนื่องจากจะมีการทำการครอบฟันลงไปแทนที่
  4. การจดบันทึก สี ขนาด รูปร่างของฟันที่ต้องการในการทำสะพานฟัน
  5. พิมพ์ฟันเพื่อทำแบบจำลอง และส่งแบบจำลองไปยัง Lab เพื่อทำสะพานฟัน
  6. ทันแพทย์จะทำการติดสะพานฟันชั่วคราวให้ สำหรับใช้งานระหว่างการรอผลิตสะพานฟันแบบถาวร
  7. หากสะพานฟันชั่วคราวมีอาการหลวมหรือหลุด ให้รีบทำการนัดทันตแพทย์เพื่อรักษาและแก้ไข พร้อมนำสะพานฟันชั่วคราวชิ้นส่วนนั้นมาด้วย
  8. ควรดูแลและทำความสะอาดสุขอนามัยภายในช่องปากขณะติดสะพานฟันแบบชั่วคราว
  9. ขั้นตอนการใส่สะพานฟันจริง ทันตแพทย์จะทำการรื้อสะพานฟันแบบชั่วคราวออก
  10. ติดยึดสะพานฟันแบบถาวรบนฟันด้วยเรซิ่นซีเมนต์ และตรวจเช็คพร้อมปรับแต่งให้มีความเหมาะสม
  1. หลังจากทำสะพานฟัน ควรหลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารแข็งภายใน 24 ชั่วโมงหลังการยึดติดสะพานฟัน ควรรับประทานอาหารอ่อนจนกว่าจะชินกับสะพานฟัน ผู้ป่วยบางท่านอาจจะพบกับปัญหาเสียวฟัน ซึ่งสามารถหายได้เองภายในเวลาไม่นาน
  2. หลีกเลี่ยงอาหารที่ร้อนหรือเย็นเกินไป หรือมีความเป็นกรด การใช้ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากที่มีฟลูออไรด์ ตลอดจนการรับประทานยาแก้ปวด สามารถช่วยป้องกันหรือบรรเทาอาการเสียวฟันได้
  3. การใส่ฟันปลอมแบบสะพานฟันจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าฟันปลอมแบบถอดได้ทั่วไป และที่สำคัญต้องทำความสะอาดให้ดี เพราะด้วยความที่มันติดแน่นอยู่ในปากของเรา จึงทำความสะอาดได้ยากกว่าฟันปลอมแบบถอดได้ เราจึงต้องดูแลทำความสะอาดช่องปากของเราเป็นอย่างดี
  4. ระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเคี้ยวของแข็ง (เช่น น้ำแข็ง กระดูก) บริเวณสะพานฟัน
  5. ทำความสะอาดด้วยไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง
  6. พบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน
  7. ดูแลรักษา และป้องกันฟันผุ และโรคเหงือก ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการสูญเสียฟัน

ครอบฟันเซรามิค

ครอบฟัน ceramic ครอบฟันชนิดนี้ได้รับการคิดค้นขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยที่ต้องการความสวยงามสูงสุด เนื่องจากได้ใช้โครงเซรามิคที่แข็งแรงมาแทนโลหะ ซึ่งมีหลายชนิดได้แก่ โครง Zirconia, lithium-disilicate เป็นต้น ทำให้มีความสวย ใส ดูเหมือนฟันธรรมชาติมากกว่า ดังนั้นจึงได้รับความนิยมอย่างมากมายในช่วงหลัง ทั้งนี้ทั้งนั้น การตัดสินใจว่าจะได้ครอบฟันชนิดนี้ได้หรือไม่ได้ ต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของทันตแพทย์ เนื่องจากครอบฟันกลุ่มนี้ บางกรณีมีข้อจำกัดเรื่องความเปราะและแตกง่าย ดังนั้น การเลือกวัสดุ การออกแบบครอบฟัน รวมถึงการพิจารณาเลือกทำในฟันแต่ละซี่จึงมีความสำคัญมาก เพื่อไม่ให้เกิดการแตกของครอบฟันหากนำไปใช้งาน ชนิดของครอบฟันเซรามิคมี 2 ชนิดขึ้นอยู่กับตำแหน่งซี่ฟันหรือตามที่คนไข้เลือก ดังนี้

1. ครอบฟันโลหะเซรามิค PFM(Porcelain fused to metal)

เป็นการประยุกต์ครอบฟันเพื่อให้มีสีใกล้เคียงธรรมชาติให้มีความสวยงาม หลักการคือใช้โครงโลหะเช่นเดียวกับครอบฟันโลหะล้วน แต่ภายนอกจะฉาบด้วยเซรามิค ครอบฟันชนิดนี้มีความแข็งแรงระดับหนึ่ง สามารถใช้เคี้ยวอาหารได้ปกติ แต่ไม่เหมาะสำหรับคนไข้ที่ชอบเคี้ยวของแข็ง

•ข้อดี : ทำให้ภาพลักษณ์ดูเป็นธรรมชาติ เนื่องจากสีของวัสดุเซรามิคมีสีใกล้เคียงสีฟันจริง และมีส่วนผสมของโลหะ ซึ่งช่วยเพิ่มความแข็งแรง มีความแข็งแรงและทนทานมากกว่าการครอบฟันแบบ ใช้เซรามิคล้วน จึงเหมาะกับการรักษาบริเวณฟันกราม ซึ่งอยู่ด้านในและต้องใช้แรงกดดันในการบดเคี้ยวมากกว่าบริเวณฟันหน้า

•ข้อเสีย : หากมีอาการเหงือกร่น อาจมีการมองเห็นเป็นเส้นสีเข้ม บริเวณของฟันที่นำมาครอบไว้ ซึ่งใกล้กับบริเวณเหงือก เนื่องจากเป็นบริเวณที่เป็นโลหะ

2. ครอบฟันเซรามิคล้วน (All Ceramic)

ครอบฟันชนิดนี้มีความสวยงามใกล้เคียงฟันธรรมชาติมาก รวมทั้งยังมีการพัฒนาให้มีความแข็งแรงสามารถใช้งานได้ได้ทั้งฟันหน้าฟันหลัง ตัดปัญหาเรื่องการติดสีที่ขอบเหงือกจึงเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน

•ข้อดี : วัสดุทีใช้มีสีฟันใกล้เคียงสีฟันจริงมากที่สุด เนื่องจากวัสดุเรซิ่นและเซรามิคมีโทนสีใกล้เคียงสีฟันจริง และมีหลายเฉดสี ทันตแพทย์สามารถเลือกโทนสีให้เหมาะกับสีฟันจริงได้ เนื่องจากมีสีใกล้เคียงฟัน จึงเหมาะกับการรักษาฟันบริเวณฟันหน้า เป็นบริเวณที่เห็นได้ชัดเจน จึงไม่ควรมีสีของโลหะอื่น ไม่มีส่วนผสมของโลหะ จึงทำให้ไม่มีสีของโลหะอยู่ในวัสดุที่ใช้ในการครอบฟัน เป็นการเพิ่มเสน่ห์และทำให้ภาพลักษณ์ไม่เปลี่ยนแปลง วัสดุที่ใช้สามารถใช้เซรามิคล้วนหรือผสมเรซิ่นได้ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์และความต้องการของคนไข้

•ข้อเสีย : การครอบฟันประเภทนี้อาจต้องมีการกรอฟันปริมาณมาก โครงสร้างของฟัน จึงกรอออกไปมากเช่นกัน จึงทำให้ง่ายต่อการติดเชื้อ และอักเสบง่ายกว่าการครอบฟันประเภทอื่น มีความเปราะ แตกบิ่นได้ง่ายกว่า อาจมีข้อจำกัดในบางกรณี

  1. ฉีดยาชาบริเวณฟันที่จะกรอเพื่อครอบฟัน
  2. การกรอฟันเพื่อเป็นฐานให้แก่ครอบฟัน
  3. การจดบันทึก สี ขนาด รูปร่างของฟันที่ต้องการในการทำครอบฟัน
  4. การพิมพ์ปากเพื่อทำแบบจำลอง
  5. แบบจำลองและรายละเอียดจะส่งห้องปฏิบัติการเพื่อทำครอบฟัน
  6. ทันตแพทย์จะติดครอบชั่วคราวให้แก่คนไข้สำหรับใช้งานระหว่างรองานจริง
  7. นัดคนไข้กลับมายึดติดครอบฟันจริง
  • ช่วยปกป้องฟันที่อ่อนแอ เนื่องจากแตก หัก บิ่น มีการผุมาก หรือได้รับการรักษารากฟัน และช่วยให้มีความแข็งแรงดังเดิม
  • ช่วยป้องกันฟันที่ได้รับการครอบจากการเกิดฟันผุ
  • ช่วยปกปิดฟันซี่เดิมที่ไม่สวยงาม ด้วยครอบฟันที่มีรูปร่างและสีสันที่สวยตามที่ต้องการ
  • ช่วยให้สามารถรักษาตำแหน่งฟันและประสิทธิภาพการทำงานให้เหมือนดังเดิม
  • ช่วยบูรณะฟันที่มีรูผุใหญ่ หรือมีวัสดุอุดเดิมที่ใหญ่เกินไปได้
  • ช่วยบูรณะและการคงสภาพการสบฟันของผู้ป่วยตามธรรมชาติ
  • ช่วยให้มีรอยยิ้มที่สวยงาม
  1. เนื่องจากครอบฟันเป็นการใส่ฟันแบบติดแน่น ไม่สามารถถอดออกมาทำความสะอาดได้ การดูแลรักษาครอบฟันในช่องปากให้สะอาดอยู่เสมอนั้นจึงมีความสำคัญมากเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการผุใต้ครอบฟัน และ/หรือเหงือกอักเสบ ซึงจะส่งผลโดยตรงต่ออายุการใช้งานของครอบฟัน
  2. คนไข้สามารถทำได้ง่ายโดยแปรงฟันทำความสะอาดอย่างถูกวิธีเหมือนฟันธรรมชาติ ซึ่งรวมถึงการหมั่นใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดบริเวณซอกฟันด้วย
  3. ระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเคี้ยวของแข็ง (เช่น น้ำแข็ง กระดูก)บริเวณที่ทำครอบฟัน
  4. พบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน
  5. ผู้ป่วยบางท่านอาจจะพบกับปัญหาเสียวฟัน ซึ่งสามารถหายได้เองภายในเวลาไม่นาน หากมีอาการรุนแรง เป็นอยู่ไม่หายให้กลับมาพบทันตแพทย์

1. การวางแผนการรักษา

ตรวจในช่องปาก ตรวจการสบฟันและเอกซเรย์ (ในบางเคสอาจต้องมีการถ่ายภาพเอ็กซเรย์ 3 มิติ)ประเมินสุขภาพและโรคประจำตัวของคนไข้ โดยซักประวัติ สอบถามการแพ้ยา โรคประจำตัวโดยละเอียด

2. ทำการวิเคราะห์

วางแผนรูปแบบการแก้ไข้ให้เหมาะสมกับปัญหา ทางฟันและช่องปากของ คุณโดยเฉพาะ แล้วทำการดำเนินการตามรูปแบบแผนการรักษาที่วิเคราะห์ของคุณแล้ว

3. ทำการทันตกรรมประดิษฐ์

ดำเนินการรักษาตามการวิเคราะห์

4. ทำตามคำแนะนำของแพทย์

ขั้นตอนข้างต้นคือแบบแผนการรักษาทั่วไป การรักษาของคนไข้แต่ละคนจะมีความต่างกันซึ่งทันตแพทย์จะให้การวางแผนการรักษาที่ชัดเจนตามแต่ละกรณี ๆ ไป และจะทำการนัดตามเพื่อคอยดูอาการตลอดจนเสร็จสิ้น

เดนทัลมี การันตีคุณภาพรีวิวจริง!

เรามีประสบการณ์ให้บริการลูกค้ามากมาย พร้อมการันตีคุณภาพและมาตรฐานที่สูงแต่ราคาไม่แพง ด้วยรีวิวจากลูกค้ามากมาย และคนดัง Net iDol ก็ใช้บริการเรา

ที่เดนทัลมี เรามีบริการทันตกรรมแก้ไขได้ทุกปัญหา ท่านสามารถดูบริการอื่นๆ ได้อีกมากมายกดตามหัวข้อหรือภาพได้เลย