ทันตกรรมปริทันต์

     โรคปริทันต์ (Periodontal Disease) หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า โรคเหงือกอักเสบ แต่จริงๆแล้ว โรคปริทันต์ มิได้มีการอักเสบเกิดขึ้นแค่ที่เหงือกเท่านั้น แต่เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับอวัยวะรอบๆฟัน อันได้แก่ เหงือก, กระดูกเบ้าฟัน, เอ็นยึดปริทันต์ และ ผิวรากฟัน

ทันตกรรมปริทันต์

โรคเหงือกอักเสบ คือ ?

     โรคเหงือกอักเสบ คือ การอักเสบของเหงือกที่มีสาเหตุจากคราบแบคทีเรีย และหินปูนที่เกาะอยู่ที่ผิวฟัน โรคเหงือกอักเสบสามารถรักษาได้ง่ายโดยการขูดหินปูนทำความสะอาดฟันโดยทันตแพทย์ แปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี ถ้าปล่อยคราบแบคทีเรียทิ้งไว้นาน ๆ คราบแบคทีเรียนี้จะค่อย ๆ แข็งตัวขึ้นจนกลายเป็นหินปูน และทำลายเนื้อเยื่อเหงือกและกระดูกเบ้าฟัน ในช่วงแรกของโรคเหงือกอักเสบนี้ สามารถรักษาให้กลับเป็นปกติเนื่องจากกระดูกและเนื้อเยื่อรอบรากฟันยังไม่ถูกทำลาย แต่ถ้าทิ้งไว้นานโดยไม่รักษาโรคเหงือกอักเสบก็อาจกลายเป็นโรคปริทันต์อักเสบได้ ทำให้เกิดความเสียหายกับฟันและกระดูกรอบรากฟันอย่างถาวร จนทำให้ฟันโยกและต้องถอนในที่สุด

รายละเอียด ทันตกรรมปริทันต์

อาการบ่งชี้ว่าอาจจะเป็นโรคเหงือกหรือโรคปริทันต์

     โรคปริทันต์เกิดขึ้นจากการที่คนไข้ปล่อยปละละเลยโรคเหงือกอักเสบ มีขูดหินปูนสะสมอยู่เป็นเวลานาน และไม่ได้พบทันตแพทย์เพื่อตรวจรักษา แบคทีเรียที่อยู่ในหินปูนจะทำลายกระดูกที่อยู่รอบ ๆ ฟัน ทำให้กระดูกที่หุ้มฟันนั้นละลายตัวไป ฟันจะเริ่มมีอาการโยก หากอาการโยกเป็นมากฟันอาจจะไม่สามารถรักษาได้ และต้องถอนฟันในที่สุด การรักษาโรคปริทันต์โดยทั่วไปจะมีการขูดหินปูนเหนือเหงือก และใต้เหงือกรวมทั้งการเกรารากฟัน เพื่อให้รากฟันเรียบ ไม่เป็นที่ยืดเกาะของหินปูนและแบคทีเรีย

1. มีเลือดออกขณะแปรงฟัน

2. เหงือกบวมแดง เป็นรอยช้ำ มีเลือดออกเมื่อสัมผัสโดน

3. มีกลิ่นปากหรือมีรสแปลกๆในปากแม้จะเป็นเพียงระยะเริ่มต้นก็ตาม

4. เหงือกร่นจากตัวฟันทำให้ฟันยาวขึ้น

5. อาจมีหนองออกตามร่องเหงือก , ปวดหน่วงๆที่เหงือกรอบๆฟัน

6. ฟันโยก

7. เหงือกที่แยกออกมาไม่แนบสนิทกับฟันจนทำให้เกิดเป็นโพรงขึ้นมา

ประโยชน์ของการรักษาโรคปริทันต์หรือเหงือกอักเสบ

1. ช่วยลดปัญหากลิ่นปากและเหงือกบวมอักเสบให้บรรเทาและหายได้

2. เมื่อทำการเกลารากฟันไปแล้ว จะทำให้ผิวรากฟันเรียบเพราะมีการกำจัดคราบหินปูนและคราบเชื้อโรคที่เกาะบนรากฟันหมดแล้ว จะช่วยให้เหงือกกลับมายึดได้ดีขึ้น

3. เมื่อผิวรากฟันเรียบเนื้อเยื่อเหงือกสามารถกลับมายึดแน่นติดกับผิวฟันได้เหมือนเดิม

4. ทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาเคี้ยวอาหารได้ดียิ่งขึ้นฟันไม่โยกและกลับมามีสุขภาพช่องปากที่ดีเหมือนเดิม

5. ทำให้ผู้ป่วยมีการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากได้ดียิ่งขึ้น อย่างถูกต้อง และสามารถป้องกันการกลับมาของโรคปริทันต์ได้

6. เมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคเหงือกอักเสบและรับการรักษาได้ทัน ก็จะลดโอกาสการสูญเสียฟันไปก่อนวัยอันสมควรได้

การป้องกันการเกิดโรคปริทันต์หรือเหงือกอักเสบ

1. เมื่อพบว่าเหงือกมีเลือดออกและเจ็บเล็กน้อยเวลาแปรงฟัน อาจจะเป็นอาการเบื้องต้นของโรคเหงือกอักเสบ หากปล่อยทิ้งไว้จะเกิดหนองและลุกลามติดเชื้อสู่รากฟันได้ สามารถป้องกันได้โดย การแปรงฟัน ให้สะอาดและใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟันอย่างสม่ำเสมอ โรคปริทันต์สามารถกลับมาเป็นใหม่ได้ถ้าดูแลสุขภาพช่องปากไม่ดี ดังนั้นจึงต้องดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีอย่างสม่ำเสมอด้วยการแปรงฟันและทำความสะอาดซอกฟันอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอ

2. การดูแลความสะอาดของช่องปากและฟันด้วยตัวเองเป็นสิ่งสำคัญ แต่ก็อาจมีบางบริเวณที่เราทำความสะอาดได้ไม่ทั่วถึง จนทำให้เกิดการสะสมของคราบแบคทีเรียที่มากขึ้น และแข็งกลายเป็นหินปูน เราจึงจะต้องมาพบทันตแพทย์เป็นประจำอย่างน้อย 6 เดือนครั้งหรือตามที่ทันตแพทย์นัด

3. การแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธีอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพื่อขจัดคราบแบคทีเรียไม่ให้สะสม

4. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

การรักษาโรคปริทันต์และขั้นตอนการรักษา

ทันตแพทย์จะทำการตรวจ พร้อมกับการเอ็กซ์เรย์ (X-ray) ฟัน เพื่อทำการประเมินวินิจฉัย ซึ่งการรักษาโรคปริทันต์นี้ มีวิธีการที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของการเกิดโรค

1. ขูดหินปูน เพื่อกำจัดหินปูนและคราบจุลินทรีย์ที่เกาะอยู่บนตัวฟันและบริเวณขอบเหงือกออก โดยทันตแพทย์จะทำการขูดหินปูนทั้งบนตัวฟันและส่วนที่อยู่บนผิวรากฟันภายในร่องปริทันต์

2. เกลารากฟัน เป็นการทำผิวรากฟันให้สะอาดและเรียบ เพื่อกำจัดหินปูนและคราบจุลินทรีย์ที่เกาะลึกลงไปในผิวรากฟันเป็นการขูดหินปูนที่อยู่ลึกลงไปใต้เหงือกมากๆ มักต้องฉีดยาชาและขูดที่ละส่วนหรือที่ละครึ่งปาก

3. ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องผ่าตัดเปิดเหงือกเพื่อทำการรักษา ทันตแพทย์จะพิจารณาใช้วิธีการผ่าตัดเหงือกการผ่าตัดเปิดเหงือกเพื่อการรักษามีหลายชนิดและหลายลักษณะงาน เช่น การตัดเหงือก, การกรอแต่งกระดูก การร่นเหงือก หรือ ผ่าตัดเพื่อขูดหินปูนบนผิวรากฟันที่ลึกมากๆ เตรียมของตามที่ทันตแพทย์สั่งโดยถามทันตแพทย์เป็นกรณีไป

4. หากเป็นโรคปริทันต์รุนแรง จนไม่สามารถเก็บรักษาฟันไว้ได้ อาจต้องถอนฟัน เช่น ในกรณีที่ฟันโยกมากๆ

การรักษาด้วยการขูดหินปูนและเกลารากฟันนั้น จะต้องทำซ้ำหลายๆ ครั้ง เนื่องจากอาจมีการเกลารากฟันเป็นส่วนๆที่ละส่วนไม่ได้ทำทั้งปากในครั้งเดียว ผู้ป่วยจึงต้องมาพบแพทย์ตามนัด และทำความสะอาดช่องปากตามที่ทันตแพทย์แนะนำ

ที่เดนทัลมี เรามีบริการทันตกรรมแก้ไขได้ทุกปัญหา ท่านสามารถดูบริการอื่นๆ ได้อีกมากมายกดตามหัวข้อหรือภาพได้เลย